หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

คปภ.ชี้ปีนี้น้ำไม่ท่วมเบี้ยลดอีก

 


สำนักงานคณะกรรมการกำกับและ ส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สรุปตัวเลขการรับประกันภัยของ กองทุนส่งเสริมการประกันภัยระหว่างวันที่ 28 มีนาคม-10 สิงหาคม 2555 มีจำนวนกรมธรรม์ทั้งสิ้น 92,930 ฉบับ ทุนประกัน ภัยพิบัติ 9,462 ล้านบาท เบี้ยประกันภัย 65 ล้านบาท คปภ.คาดว่าถึงสิ้นปีจำนวนกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติจะเพิ่มเป็น 720,367 ฉบับ ทุนประกัน 329,943 ล้านบาท

“ตัวเลขนี้มาจากฐานข้อมูลของบริษัท รับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน) หรือไทยรี ประมาณการจากจำนวนกรมธรรม์ทั้งหมดที่มีอยู่ในระบบจะครบอายุเท่า ไหร่จะมีผู้มาทำประกันต่ออีกเท่าไหร่ ไม่คาดว่าจะมาทั้งหมดจำนวนจริงอาจจะต่ำกว่านี้ก็ได้” นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคปภ.กล่าว 

และเสริมว่า กองทุนฯเริ่มเข้าสู่เฟส สองเป็นเรื่องของการทำ ประกันภัยต่อ ต่าง ประเทศอยู่ระหว่างหาบริษัทที่ปรึกษาหรือ บริษัทนายหน้าด้านการประกันภัยต่อ มาให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะแก่กองทุนฯ ในการจัดแผนการประกันภัยต่อที่เหมาะสม พร้อมทั้งติดต่อบริษัทประกันภัยต่อ (รีอินชัวเรอส์) ในต่างประเทศเพื่อเสนอเบี้ย ประกันและเงื่อนไขที่เหมาะสมแก่กองทุนฯ 

ยิ่งกว่านั้นจะเชิญบริษัทรับประกันภัยต่อ อาทิ จากอังกฤษ ญี่ปุ่นมาดูความคืบหน้าแผนการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลและนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อให้ ผู้รับประกันต่อเกิดความมั่นใจจะได้เข้ามา แข่งขันเสนออัตราเบี้ยประกัน เชื่อว่าน่าจะเชิญมาได้เพราะสามารถแสดงผลเป็นรูปธรรมให้กับผู้รับประกันต่อเห็นภาพได้ทั้งประชาชนที่เคยอพยพออกจากกรุงเทพฯ ช่วงน้ำท่วมกลับเข้ามาแล้ว นิคมฯ ต่างๆ เปิดธุรกิจ ขณะที่เขื่อนป้องกัน น้ำเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง

“เป็นช่วงที่กรมธรรม์เก่าทยอยหมด อายุ เราคาดว่าจากนี้ไปถึงสิ้นปีจะเห็นการ ทำประกันภัยพิบัติ แต่ยังไม่รู้จะมาทำ ประกันเท่าไหร่ ดังนั้นกองทุนฯต้องพร้อมรับเสมอ การซื้อประกันภัยต่อจะทยอยซื้อ ตามความเหมาะสมเพื่อจะได้ไม่ต้องไปเสีย เบี้ยทีเดียวส่วนจะซื้อเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของประกันต่อเช่นทุนประกันแสนล้านอาจจะซื้อประกันต่อหมื่นล้านบาทก่อน ก็ได้ ที่ไม่ทำก่อนหน้านี้เพราะถ้าซื้อไว้แล้วไม่ได้ใช้ความคุ้มครองจะเสียค่าเบี้ยไปเปล่าๆ ค่าเบี้ยประกันแพงที่สุดคือตอนนี้โอกาสต่อรองน่าจะดีกว่า”

สำหรับบริษัทนายหน้าประกันภัยต่อที่กำลังสรรหาอยู่ เลขาธิการคปภ.กล่าว ว่า เป็นบริษัทสากลขนาดใหญ่ซึ่งในโลกมีประมาณ 5 บริษัท คาดว่าประมาณต้นเดือนกันยายนจะได้รายชื่อบริษัทนายหน้า พร้อมกับนำเสนอคณะกรรมการกองทุนฯคัดเลือกและแต่งตั้งเพื่อเสนอแผนการทำประกันต่อ

“ตอนนี้ผู้รับประกันต่อ มั่นใจตลาดไทยมากขึ้นเห็นได้จากค่าเบี้ยที่ลดลงในพื้นที่ที่ไม่มีน้ำท่วม อย่างเงื่อนไขของกองทุนฯที่กำหนดว่าถ้าบริษัทประกันภัย ขายประกันภัยพิบัติโดยให้อัตราเบี้ยต่ำกว่า กองทุนฯตั้งแต่ 20% ขึ้นไปไม่ต้องส่งงานเข้ากองทุนฯอัตราที่ว่ามาจากทางผู้รับประกันต่อเสนอมาสะท้อนว่าผู้รับประกันต่อเข้ามาแล้ว”

“ประเวช” กล่าวว่า ถ้าปีนี้น้ำไม่ท่วม เบี้ยประกันจะลดลงอีก ผู้รับประกันต่อจะ เข้ามามากขึ้นและถ้าปีหน้าไม่ท่วมอีกจะยิ่ง ลดลงอีกแต่คงไม่ต่ำเหมือนช่วงก่อนน้ำท่วมที่คิดกัน 0.01% จ่ายสินไหมน้ำท่วมแล้ว 65% 

สำหรับความคืบหน้าในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนผู้ประสบภัยน้ำท่วม นายตนุภัทร รัตนพูลชัย ผู้ช่วยเลขาธิการสาย กำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัย สำนักงานคปภ. กล่าวว่า ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2555 บริษัทประกันภัยจ่ายค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว 2.94 แสนล้านบาทหรือคิดเป็น 65.17% ของยอดค่าเสียหายที่มีการเรียกร้องเข้ามา 4.5 แสนล้านบาท คิดเป็นจำนวนราย 81,638 ราย หรือ 91.08% ของจำนวนราย ทั้งหมด 89,632 ราย ที่เรียกร้องค่าสินไหม ทดแทนเข้ามาสะท้อนภาพประชาชนและผู้เอาประกันภัยส่วนใหญ่ได้รับการชดใช้แล้วต่ำกว่าเป้าหมาย70% เล็กน้อย

ส่วนที่ยังไม่ได้รับการชดใช้อีก 7,995 ราย ค่าสินไหมทดแทน 1.57 แสนล้านบาทหรือคิดเป็น 34.83% อยู่ระหว่างดำเนินการส่วนใหญ่เป็นลูกค้ารายใหญ่โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ โดยค่าสินไหมส่วนนี้ยังไม่นิ่งเป็นตัวเลขความเสียหายที่บริษัทประกันภัยตั้งสำรองจ่ายไว้ อีกทั้งยังไม่รวม ความจากการประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก (BI) อีก 3.7 หมื่นล้านบาทหากรวมค่าเสียหาย ทั้งหมดจะอยู่ประมาณ 4.8 แสนล้านบาท หรือประมาณ 60 เท่าของค่าสินไหมทดแทน จำนวน 8 พันล้านบาทจากเหตุการณ์สึนามิ เมื่อปลายปี 2547

นายตนุภัทร กล่าวว่า ปัญหาในการ จ่ายค่าสินไหมทดแทน อาทิเครื่องจักรมีจำนวนมาก มีมูลค่าสูงเป็นเครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีสูงต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะ, บางเครื่องตกรุ่น ไม่มีการผลิต การสั่งผลิตใหม่ต้องใช้เวลา, ทำประกันต่ำกว่า มูลค่าที่แท้จริง โดยคปภ.เร่งรัดการจ่ายค่า สินไหม เช่น กำหนดให้บริษัทประกันภัยต้องรายงานความเสียหายและการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน ทุกๆ เดือน เดือนละ 2 ครั้ง จัดตั้งทีมงาน เพื่อติดตามเร่งรัดการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เป็นต้น
ที่มา www.spser.com

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คปภ.มึนส่งเสริมฯพิมพ์กธ.7ล.ฉบับ ย้ำเคลมหลัง20ก.ค.ทำใจเบิกไม่ได้
คปภ.ออกโรงแจงโรงพยาบาลป่วนเบิกค่าสินไหมพ.ร.บ.ฯ จากกรณีลูกค้าส่งเสริมประกันภัยมีไม่มาก ยันกระทบบ้างเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
  เพราะไม่ใช่ผู้เอาประกันภัยโดยตรงตามสิทธิกฎหมายให้อำนาจ เว้นเสียแต่ผู้เอาประกันภัยโดยตรงเท่านั้น ขณะที่อู่ซ่อมรถไร้ปัญหา เหตุ  ลูกค้าส่วนนี้แทบจะน้อยมาก  เพราะบริษัทไม่ได้ขยายตลาดทำประกันรถชั้นหนึ่ง ยอมรับผู้เอาประกันโดยตรงที่เคลมสินไหม พ.ร.บ.ฯ เกิดขึ้นหลังวันที่ 20 ก.ค.55 คงต้องทำใจ  อาจจะเคลมไม่ได้ช่วงนี้   เพราะกลัวเกิดกรณีข้อพิพาทแง่กฎหมาย ส่วน คปภ. ไล่จิกผู้บริหารหาคำตอบกรมธรรม์ที่สั่งพิมพ์กับโรงพิมพ์ถึง 7 ล้านฉบับ
นายอำนาจ วงศ์พินิจวโรดม ผู้ช่วยเลขาธิการ สายพัฒนาและวิเคราะห์ระบบการตรวจสอบ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบการธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยถึงกรณีที่ผู้เอาประกันเกิดปัญหาเรียกร้อง   ค่าสินไหมจากบริษัทส่งเสริมประกันภัยที่ถูกทางคปภ.สั่งให้หยุดรับประกันภัยชั่วคราวในระหว่างนี้ว่า คงไม่ใช่ทั้งหมด    หากเป็นกรมธรรม์ที่มีผลบังคับก่อนและเกิดเคลมขึ้นก่อนที่ทางคปภ.สั่งหยุดรับประกันชั่วคราวคือวันที่ 20 ก.ค.55  และผู้เอาประกันเดินทางมาเคลมกับบริษัทกลางคุ้มครอง  ผู้ประสบภัยจากรถ   บริษัทกลางฯ สามารถจ่ายค่าสินไหมให้ได้  แต่หากเป็นเคลมสินไหมที่มาเคลมหลังวันที่ 20 ก.ค.55 

ตรงนี้คปภ.กลัวกันมากว่า เคลมตรงนี้ยังไม่เกิด ถ้าเกิดเหตุตอนนี้ก็อาจจะยังไม่สามารถเรียกร้องค่าสินไหมได้  เพราะถ้าหากคปภ.อนุมัติให้กับกรมธรรม์ที่ขายหลังวันที่ 20 ก.ค.ขึ้นมา  มันอาจจะมีประเด็นข้อกฎหมายเกิดขึ้นว่า คุ้มครองหรือไม่คุ้มครองตามมา  ในส่วนของอู่ซ่อมรถคงไม่เป็นปัญหา  เพราะน่าจะมีปัญหาเบิกจ่ายสินไหมอยู่บ้างเล็กน้อย  เนื่องจากส่วนใหญ่ส่งเสริมประกันภัยไม่ค่อยได้ขยายตลาดประกันรถยนต์ชั้นหนึ่งอยู่แล้ว   แต่หากเป็นกรมธรรม์พ.ร.บ.ผู้ประสบภัยจากรถ  และกรมธรรม์ประกันทางทะเลและขนส่งเสียส่วนใหญ่
                 
ในส่วนของโรงพยาบาลที่มีปัญหาเรียกร้องสินไหมไม่ได้ในขณะนี้  เนื่องจากคณะกรรมการควบคุมฯขอประเมินดูก่อนว่า มีปริมาณมากน้อยขนาดไหน  เพราะโรงพยาบาลถือว่า ไม่ใช่ผู้เอาประกันโดยตรง  จึงไม่อยู่ในเงื่อนไขจ่ายให้ได้  เช่นเดียวกับกรณีของบริษัทฟินิกส์ประกันภัยก่อนหน้านี้ที่ปิดกิจการไปแล้ว  ก็เคยถูกคำสั่งให้หยุดรับประกันชั่วคราว   ทางคณะกรรมการควบคุมฯของคปภ.ก็ไม่จ่ายอู่เลย  เพราะในหลักการไม่ถือว่า ผู้เอาประกัน  ส่วนโรงพยาบาลก็เหมือนกัน  เว้นเสียแต่ว่า ถ้าเป็นผู้เอาประกันสำรองจ่ายค่ารักษาไปก่อน   หรือกรณีใบเบิกแล้วมีส่วนต่าง อย่างนี้ทางคณะกรรมการควบคุมของคปภ.ถึงจะจ่ายสินไหมให้ได้   เพราะอย่างนี้มันชัดเจน   แต่พอโรงพยาบาลมาเป็นผู้เอาประกันภัยเรียกร้องค่าสินไหมเสียเอง  มันก็ยังพูดไม่ชัด  
                   
“ถ้าเป็นโรงพยาบาลอาจจะลำบากสักนิดหนึ่ง  แต่ส่วนใหญ่เวลาเกิดเหตุมักจะเคลมผ่านช่องทางกับบริษัทกลางฯ อยู่แล้ว  ซึ่งอาจจะขลุกขลักกรณีค่าเสียหายที่เกินกว่าค่าเสียหายเบื้องต้น 15,000 บาทเท่านั้น แต่ก็คงไม่เยอะ  เพราะเคลมพ.ร.บ.ฯใหญ่ๆมีไม่มาก ยิ่งรถทำประกันชั้นหนึ่งของส่งเสริมประกันภัยเขาไม่ค่อยมี  เพราะเป็นพ.ร.บ.ฯเกือบจะ  100%   จึงไม่มีปัญหากระทบกับพี่น้องประชาชนเวลานี้มากเท่าไหร่นัก”

                   
นายอำนาจ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าในการเปิดให้ขายกรมธรรม์ได้ตามปกติว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถกระทำได้  เพราะยังไม่สามารถแก้ไขให้มีระบบควบคุมการจำหน่าย จ่ายแจกกรมธรรม์ประกันภัยที่ครบถ้วนและรัดกุมอย่างดี    รวมทั้งระบบการลงบัญชีของกรมธรรม์ประกันภัย ที่จำหน่าย และเงินค่าเบี้ยประกัน ภัยให้ถูกต้องตรงกัน   หรือมีการรับประกันภัยโดย บันทึกบัญชี หรือบันทึกบัญชีได้ตามที่กฎหมายกำหนด  ประกอบกับยังไม่ได้แก้ไขในเรื่องของการตรวจสอบการลงบันทึก บัญชี และสมุดทะเบียนให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย มีการบันทึกบัญชีโดย ใช้เกณฑ์เงินสด  ซึ่งหากทั้งหมดนี้ทางผู้บริหารมีการปรับปรุงแก้ไขแล้วทำให้ทางคณะกรรมการควบคุมฯของคปภ.พิจารณาดูแล้วว่า เป็นไปตามกฎหมายในทางปฎิบัติ  ทางคปภ.จึงจะอนุญาตให้เปิดดำเนินการขายกรมธรรม์ได้เป็นปกติ   
                     
“ประเด็นสำคัญเวลานี้  กรมธรรม์ที่ไปว่าจ้างโรงพิมพ์จันทร์วานิช ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาถึง 7 ล้านฉบับ ซึ่งเป็นตัวเลขผิดปกติ  ทั้งที่ปกติแล้วขายได้เพียงปีละล้านกว่าฉบับ   ตัวเลขที่พิมพ์เพิ่ม  ทางบริษัทยังหาคำตอบให้กับเราไม่ได้เลย  ซึ่งตรงนี้เขาจะต้องหาที่มาที่ไปให้กับทางคปภ.ให้ได้” นายอำนาจ กล่าวทิ้งท้าย 
อ้างอิง : นสพ.เส้นทางนักขาย ฉบับที่ 234 ปักษ์หลัง ประจำวันที่ 16-31 สิงหาคม 2555

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ห้ามดื่มแม้รถจอดในซอย

ตามที่ได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในทางสาธารณะ ขณะขับขี่หรือขณะโดยสารอยู่ในรถหรือบนรถทุกประเภท ซึ่งหมายรวมถึงท้ายรถด้วย อาศัยอำนาจ ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 8 ส.ค. 2555 ที่ผ่านมานั้น พล.ต.ต.อุทัยวรรณ แก้วสอาด ผู้บังคับการตำรวจจราจร (ผบก.จร.) แจงถึงเรื่องนี้ว่า ในการบังคับใช้กฎหมายห้ามผู้โดยสารดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนรถ ช่วงแรกจะเน้นการประชาสัมพันธ์ และว่ากล่าวตักเตือน ให้ประชาชนทราบถึงเรื่องดังกล่าวว่าต่อไปนี้ถือเป็นความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน และปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่การกวดขันผู้ขับขี่ที่เมาสุราจะยังเข้มข้นเหมือนเดิม หลังจากนี้อีก 1 เดือน จะเริ่มจับปรับตามกฎหมาย ทั้งนี้กฎหมายระบุชัดถึงการห้ามบริโภคบนรถทุกประเภทที่อยู่บนท้องถนนสาธารณะ ทางเท้า ไหล่ทาง รวมถึงซอยสาธารณะที่มีรถใช้มาก ยกเว้นรถไฟ รถราง หากพบว่ามีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บนรถถ้าว่ามีความผิด โดยจะเอาผิดเฉพาะคนดื่ม และเจ้าของรถ.
ทีมา http://spser.com/board/index.php?topic=316.0


วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ไม่รับลูกค้า‘ส่งเสริมประกัน

หลัง “คปภ.” สั่งหยุดรับประกันชั่วคราว พร้อมส่งคณะกรรมการเข้าควบคุม “บ.ส่งเสริมประกันภัย” เริ่ม ส่อเค้าบานปลายแล้ว!!
  ทั้งอู่-โรงพยาบาลพากันป่วน! ทั้งที่ไม่เคยมีปัญหาค้างคาเรื่องค่าสินไหม เหตุแตกตื่นคำสั่งทางการ ต่างพากัน “งดรับ” ลูกค้าประกันภัยจากบริษัทส่งเสริมฯ  ทาง “คณะกรรมการ” ยืนกรานมีอำนาจจ่ายค่าสินไหมให้ได้เฉพาะเจ้าของรถ ผู้เอาประกัน หรือผู้ประสบภัยตามสัญญาประกันภัยเท่านั้น ขณะอู่ซ่อมรถทางเหนือระส่ำหนักส่งหนังสือเวียนห้ามรับงานจาก บ.ส่งเสริม!!

แหล่งข่าวจากผู้ประกอบ การอู่ซ่อมรถรายหนึ่ง เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) 
ได้ออกแถลงผ่านเว็บไซต์ www.oic.or.th โดยระบุว่า สำนักงาน คปภ. ตรวจพบว่า บริษัท ส่งเสริมประกันภัย จำกัด (บริษัทฯ) มีการดำเนินการในลักษณะ ที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน โดยไม่มีระบบควบคุมการจำหน่าย จ่ายแจกกรมธรรม์ประกันภัยที่ครบถ้วนรัดกุม ไม่มีระบบการสอบยันกรมธรรม์ประกันภัยที่จำหน่าย และเงินค่าเบี้ยประกันภัยให้ถูกต้องตรงกัน มีการรับประกันภัยโดยไม่บันทึกบัญชี หรือบันทึกบัญชีล่าช้า
        
ประกอบกับไม่มีการตรวจสอบการลงบันทึกบัญชี และสมุดทะเบียนให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายมีการบันทึกบัญชีโดยใช้เกณฑ์เงินสด ซึ่งผู้สอบบัญชีไม่รับรองงบการเงิน ทำให้ไม่สะท้อนฐานะการเงินที่แท้จริง ขาดความน่าเชื่อถือ ดังนั้นนายทะเบียนด้วยความเห็นชอบของ คปภ. จึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 52 แห่ง พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 สั่งให้บริษัท ส่งเสริมประกันภัย จำกัด หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป และช่วง ระยะเวลาดังกล่าว บริษัทต้องเร่งดำเนินการ โดยจัดให้มีระบบควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพโดยคปภ.ได้ส่งคนเข้าไปควบคุมดูแลกิจการในขณะนี้อย่างเข้มงวด
               
แหล่งข่าวรายนี้ กล่าวว่า  จากมาตรการของคปภ.ที่เข้าควบคุมดังกล่าวถือว่า กระทำรุนแรงเกินกว่าเหตุ
ไปหรือไม่  เพราะเกรงว่าจะทำให้เหตุการณ์อาจลุกลามบานปลาย  จนทำให้จากบริษัทที่ยังอยู่ในสภาพดีๆกลายเป็นบริษัทแย่ลงทันตาเห็นก็ได้    เพราะขณะนี้เริ่มส่งผลกระทบบานปลายให้อู่ต่างพากันงดรับงานซ่อมรถลูกค้าของบริษัทส่งเสริมฯเข้ามาจำนวนมาก  โดยต่างหวั่นวิตกว่าจะไม่ได้เงินค่าซ่อมรถของลูกค้าส่งเสริมประกันภัยที่ได้จัดซ่อมไปแล้ว    จึงทำให้เจ้าของอู่ต่างไม่กล้ารับซ่อมรถที่เข้ามาซ่อมใหม่  เพราะเกรงว่าจะไม่ได้เงินค่าซ่อมเก่าและค่าซ่อมใหม่ไปพร้อมกัน

ทั้งๆที่กรณีของบริษัทส่งเสริมประกันภัยนั้นไม่ได้มีปัญหาติดค้างค่าสินไหมกับอู่ที่ผ่านมาแต่อย่างใด   หรือกระทั่งมีปัญหาขาดสภาพคล่องและมีปัญหาเงินกองทุนเหมือนกับบริษัทสัมพันธ์ประกันภัย หรือหลายบริษัทที่ปิดกิจการลงไปแล้วก่อนหน้านี้แต่อย่างใด  เพียงแต่ติดปัญหาการลงบัญชีไม่ถูกต้องเท่านั้นเอง  ซึ่งคปภ.ไม่น่าจะเข้าไปควบคุมถึงเรื่องการจ่ายสินไหมขนาดนี้  เพราะถือเป็นเส้นเลือดใหญ่โดยเฉพาะค่าสินไหมถือเป็นตัวเรียกความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบประกันภัย 
                 
โดยเฉพาะในประเด็นเดียวที่คปภ.ได้มีประกาศนายทะเบียนเรื่องกำหนดการจ่ายเงินอื่นของบริษัทส่งเสริมประกันภัยจำกัด ที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราวพ.ศ.2555   ในข้อ 4.1 ได้ระบุให้การจ่ายสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย หรือผู้ได้รับความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัยโดยตรงเท่านั้น  จึงจะเบิกค่าสินไหมทดแทนได้ โดยคณะกรรมการที่เข้าไปควบคุมยืนยันว่า จะต้องเป็นประชาชนที่เป็นเจ้าของรถ หรือเป็นผู้ที่ได้รับความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัยโดยตรงเท่านั้นที่จะเบิกได้   แต่ในกรณีอู่ถือว่าไม่ใช่  จึงปฎิเสธการเบิกจ่ายค่าสินไหมให้กับอู่  ซึ่งขณะนี้ทราบมาว่า คณะกรรมการอู่กลางฯในภาคเหนือได้ทำหนังสือเวียนสมาชิกเขาหมดแล้วว่า ห้ามรับซ่อมงานรถยนต์ของบริษัทส่งเสริมฯ
                  
ด้านแหล่งข่าวจากโรงพยาบาลเอกชนรายหนึ่ง   กล่าวว่า ขณะนี้ทางโรงพยาบาลเอกชนก็ประสบปัญหาทำนองเดียวกัน  โดยทางโรงพยาบาลต่างปฎิเสธคนไข้ที่เป็นลูกค้าหรือผู้ที่ได้รับความคุ้มครองตามสัญญาประกันภัยโดยตรงกับบริษัทส่งเสริมประกันภัยกันแล้ว  เพราะไม่มั่นใจว่า จะเบิกเงินกับบริษัทได้หรือไม่ หากรักษาคนไข้ที่เป็นลูกค้าไปแล้ว  ซึ่งล่าสุดก็ทราบมาว่า ได้มีคนไข้โรงพยาบาลบางแห่งไปขอเบิกเงินค่ารักษาแค่ 312 บาทกับทางบริษัททันทีที่มีข่าวว่า ถูกคปภ.สั่งหยุดรับประกันภัยชั่วคราว ปรากฎว่า ได้รับการปฏิเสธจากทางบริษัท  เพราะเห็นว่าคณะกรรมการของคปภ.ที่ส่งเข้าไปควบคุมกิจการอ้างว่า ไม่สามารถจ่ายให้ได้เพราะผิดระเบียบ    
                    
ขนาดบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถก็ยังไม่กล้าจ่ายแทนสำหรับค่าเสียหายเบื้องต้นตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เพราะกลัวไปเบิกคืนเอากับบริษัทส่งเสริมฯไม่ได้ ถึงขนาดโรงพยาบาลเอกชนบางโรงได้โทรมาหารือเรื่องนี้ยอมรับว่าจะให้ทำอย่างไรกันดี  เพราะมีบางโรงพยาบาลได้ไปตั้งเบิกกับส่งเสริมฯกับบริษัทกลางฯแล้ว  แต่บริษัทกลางฯบอกว่า ไม่มีกำหนดจ่าย  จนกว่าคปภ.จะเคลียร์ได้ว่า บริษัทจะเบิกคืนได้ไหม  ในเมื่อเขาไม่ได้เป็นผู้เอาประกันโดยตรง 
                   
อนึ่ง  ตามรายงานของคปภ.ล่าสุดพบว่า บริษัทขายประกันภาคบังคับหรือประกัน พ.ร.บ.เป็นส่วนใหญ่  โดยใน 4 เดือนแรกของปีนี้ บริษัทมีเบี้ยรับรวม 348.44 ล้านบาท ลดลงจากงวดเดียวกันของปีที่ผ่านมา5.61%  โดยมีจำนวนกรมธรรม์ที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบ 5.08 แสนฉบับ แบ่งเป็น กรมธรรม์ทั้งหมดแยกเป็นประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล 45 รายประกันอัคคีภัย 213 ราย ประกันสินค้า 59 ราย ประกันภัยพ.ร.บ.5.04 แสนราย ประกันภัยภาคสมัครใจ 4,159 ราย  ประกันความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน 1 ราย 
อ้างอิง : นสพ.เส้นทางนักขาย ฉบับที่ 233 ปักษ์แรก ประจำวันที่ 1-15 สิงหาคม 2555

แก้กองทุนฯให้อำนาจบ.กลางจ่าย

บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถจับมือคปภ. และสมาคมประกันวินาศภัยเอาใจประชาชน
 รื้อกฎกติกาใหม่เบิกจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นจากบริษัทกลางฯ ได้โดย  ไม่ต้องมีใบบันทึกประจำวัน โดยกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้มอบหมายให้บริษัทกลางฯ สำรองจ่ายไปก่อน ตัดปัญหายุ่งยากทั้งโรงพยาบาลและผู้เอาประกัน เริ่มดีเดย์ตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2555 นี้เป็นต้นไป

นายประสิทธิ์ คำเกิด  รองกรรมการผู้จัดการด้านปฎิบัติการ บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ  จำกัด เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบการธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สมาคมประกันวินาศภัย และบริษัทกลางฯ ได้ร่วมกันแก้ไขการ  เบิกจ่ายเงินกองทุนทดแทนของ 
ผู้ประสบภัย คือ  สำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัย  โดยอาศัยตามพ.ร.บ.ผู้ประสบภัยจากรถ ในมาตรา 10 ทวิ  (1) ให้บริษัทกลางฯ ทำหน้าที่รับคำร้อง ขอและจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นและค่าสินไหมทดแทนตามพ.ร.บ.ฯ แทนบริษัทประกันภัยหรือกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยมอบหมาย  โดยกองทุนฯ จะได้มอบหมายให้บริษัทกลางฯ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถสำรองจ่าย  ค่าเสียหายเบื้องต้นตามมาตรา 23 ในส่วนของคำร้องที่ไม่มีบันทึกประจำวัน  โดยจะเริ่ม    มีผลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2555 นี้เป็นต้นไป

โดยต่อไปนี้โรงพยาบาล หรือผู้ประสบภัยจากรถยังคงต้องใช้บันทึกประจำวันในการขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนฯ  แต่ทั้งนี้หากผู้ประสบภัยรายใดไม่สามารถนำบันทึกประจำวันมาได้  ก็ให้ใช้บันทึกรับรองการเกิดเหตุเพื่อใช้เป็นเอกสารสิทธิ์ ว่า ประสบภัยจากรถ    ก็สามารถรับค่าเสียหายเบื้องต้นจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้   โดยบริษัทกลางฯพร้อมจะทำหน้าที่สำรองจ่ายไปก่อน และจึงไปเบิกกับกองทุนฯในภายหลัง  
                   
นายประสิทธิ์  กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า  ส่วนกระบวนการดำเนินงานของบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถที่จะไปเรียกเงินคืนจากกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยนั้น  ก็จะมีแนวทางตกลงร่วมกันเพื่อยึดถือปฎิบัติต่อไป   โดยการดำเนินการในครั้งนี้เพื่อตอบสนองเจตนารมย์ของพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ  เพื่อให้ผู้ประสบภัยหรือสถานพยาบาลที่ทำการรักษานั้นๆได้เกิดความเชื่อมั่นและได้รับความคุ้มครองตามเจตนารมย ์ของกฎหมายอย่างแท้จริง  บริษัทกลางฯก็พร้อมให้ความร่วมมือและยึดถือประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นหลัก  
                     
อนึ่ง ทั้งนี้การเปลี่ยนกฎระเบียบกติกาครั้งนี้ไม่ได้เป็นการส่งเสริมให้เจ้าของรถหลีกเลี่ยงการทำประกันรถตามพ.ร.บ.ผู้ประสบภัยจากรถแต่อย่างใด  เจ้าของรถยังคงมีหน้าที่ต้องทำประกันภัยตามพ.ร.บ.ฯฉบับนี้ หากฝ่าฝืนยังมีบทลงโทษ ตามกฎหมายคือ ปรับ 1 หมื่นบาทอยู่    แต่อย่างไรก็ตาม  เพื่อให้เจ้าของรถทุกคันมีผลในการคุ้มครองสูงกว่าค่าเสียหายเบื้องต้นที่กรมธรรม์ประกันภัยภาคบังคับ(พ.ร.บ.)กำหนดจ่ายให้กรณีบาดเจ็บแก่ร่างกายของผู้ประสบภัยที่ถูกกระทำให้เกิดความเสียหาย สูงสุดถึง 5 หมื่นบาท  หรือกรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพถาวร  สูญเสียอวัยวะ  2 แสนบาท  และหากผู้ประสบภัยนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลจะได้รับเงินชดเชยอีกวันละ   200 บาท สูงสุดไม่เกิน 20วัน หากรถคันที่ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นมีการเอาประกันภัยตามพ.ร.บ.ฯนี้ จึงอยากจะเชิญชวนให้เจ้าของรถทุกคันได้จัดทำประกันภัยพ.ร.บ.ฯเอาไว้   เพื่อสร้างหลักประกันต่อความคุ้มครองสำหรับการบาดเจ็บและเสียชีวิตของบุคคล  อันเป็นการร่วมรับผิดชอบต่อสังคม และแบ่งเบาภาระของรัฐบาลทางด้านการดูแลได้อีกทางหนึ่งด้วย 
อ้างอิง : นสพ.เส้นทางนักขาย ฉบับที่ 233 ปักษ์แรก ประจำวันที่ 1-15 สิงหาคม 2555

สั่งให้บริษัท ส่งเสริมประกันภัย หยุดรับประกัน



คปภ. สั่งให้บริษัท ส่งเสริมประกันภัย หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นก

ารชั่วคราว

สำนักงาน คณะกรรมการกำกับและส่งเสริม

การประกอบธุรกิจประกันภัย(ค
ปภ.) ตรวจพบว่า บริษัท ส่งเสริมประกันภัย มีการดำเนินการ ในลักษณะที่อาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน โดยไม่มีระบบควบคุมการจำหน่าย จ่ายแจกกรมธรรม์ประกันภัยที่ครบถ้วนรัดกุม ไม่มีระบบการสอบยันกรมธรรม์ประกันภัยที่จำหน่าย และเงินค่าเบี้ยประกัน
ภัยให้ถูกต้องตรงกัน มีการรับประกันภัยโดยไม่บัน
ทึกบัญชี หรือบันทึกบัญชีล่าช้า ประกอบกับไม่มีการตรวจสอบกา

รลงบันทึกบัญชี และสมุดทะเบียนให้เป็นไปตาม
ข้อกำหนดของกฎหมาย มีการบันทึกบัญชีโดยใช้เกณฑ์เงินสด ซึ่งผู้สอบบัญชีไม่รับรองงบการเงิน ทำให้ไม่สะท้อนฐานะการเงินที่แท้จริง ขาดความน่าเชื่อถือ

นายทะเบียนด้วยความเห็นชอบข

องคณะกรรมการกำกับและส่งเสร
ิมการประกอบธุรกิจประกันภัย จึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2551 สั่งให้บริษัท ส่งเสริมประกันภัย หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 20 ก.ค. พ.ศ. 2555 เป็นต้นไป และช่วงระยะเวลาดังกล่าว บริษัทฯ ต้องเร่งดำเนินการโดยจัดให้มีระบบควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ มีการควบคุมการจัดส่งกรมธรรม์ประกันภัยไปสู่สาขาและตัวแทน/นายหน้าประกันภัย เร่งตรวจสอบกรมธรรม์ประกันภัยที่ขายกับจำนวนเบี้ยประกันภัยที่ได้รับ รวมถึงการบันทึกบัญชีและสมุดทะเบียนให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมาย

ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. มีความห่วงใยประชาชน และผู้เอาประกันภัยเป็นอย่า

งยิ่ง เบื้องต้น จึงสั่งการให้บริษัทฯ แจ้งตัวแทน/
นายหน้าประกันภัยของบริษัทฯ ให้ระงับการขายกรมธรรม์ประกันภัย แก่ประชาชนแล้ว สำหรับผู้เอาประกันภัยที่มีกรมธรรม์ประกันภัยของบริษัทฯ อยู่ก่อนคำสั่งหยุดรับประกันภัย เป็นการชั่วคราวนี้ ท่านยังคงได้รับความคุ้มครองตามเงื่อนไขแห่งสัญญาประกันภัยทุกประการ

ดังนั้น หากประชาชนและผู้เอาประกันภ

ัยรายใด พบเห็นการขายกรมธรรม์ประกัน
ภัยของบริษัทฯ ดังกล่าวในระยะนี้ ขอให้แจ้งกับสำนักงาน คปภ. ภาคและจังหวัดทั่วประเทศ หรือสอบถามข้อมูล ได้ที่ สำนักงาน คปภ. ส่วนกลาง โทร 0 2513 5214 , 0 2513 2972 หรือ สายด่วนประกันภัย 1186 หรือwww.oic.or.th
สอบถามข้อมูล ประกันภัยรถยนต์ราคาถูก

กวดขันผู้ขี่รถจักรยานยนต์

ขณะนี้กองบัญชาการตำรวจนครบ

าล (บช.น.) มีมาตรการเข้มงวดกวดขันผู้ข
ี่รถจักรยานยนต์ ที่ชอบฝ่าฝืนกฎจราจร ทั้งเรื่องขี่บนทางเท้า ขี่ย้อนศร ไม่สวมหมวกนิรภัยขณะขี่ โดยได้สั่งการให้ทุก สน.กวดขันจับกุมความผิดลักษณะนี้อย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่นด้วย โดยหากพบผู้ขี่รถจักรยานยนต์ทำผิดกฎจราจรตาม 3 เรื่องนี้ ให้ทำการจับปรับ 500 บาท ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก อย่างไรก็ตามข้อหาขับรถย้อนศรข
องพื้นที่กรุงเทพฯ ตำรวจจราจรพิจารณาความผิดจา
ก พ.ร.บ.จราจร ตามมาตรา 48 ทำให้มีโทษเบา ผู้ขี่อาจไม่หวาดกลัว เมื่อเทียบกับที่จังหวัดชลบ

ุรี ตำรวจจราจรที่นั่นได้พิจารณ
าข้อหาขับรถย้อนศรให้มีความผิดตามมาตรา 43 วรรค 8 ซึ่งเป็นมาตราเดียวกับข้อหาขับรถขณะเมาสุรา เพราะเห็นว่าเป็นการกระทำที่ประมาทอาจก่อให้เกิดอันตรายอย่างยิ่งต่อผู้อื่น ซึ่งผู้กระทำผิดจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 2,000-10,000 บาท จะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจส่งฟ้องศาลอีกด้วย ทำให้ขณะนี้ที่จังหวัดชลบุรีมีผู้ขี่รถจักรยานยนต์ย้อนศรน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด และเกิดอุบัติเหตุน้อยลง. ประกันภัยรถสิบล้อ