หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2555

คปภ.ชี้ปีนี้น้ำไม่ท่วมเบี้ยลดอีก

 


สำนักงานคณะกรรมการกำกับและ ส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สรุปตัวเลขการรับประกันภัยของ กองทุนส่งเสริมการประกันภัยระหว่างวันที่ 28 มีนาคม-10 สิงหาคม 2555 มีจำนวนกรมธรรม์ทั้งสิ้น 92,930 ฉบับ ทุนประกัน ภัยพิบัติ 9,462 ล้านบาท เบี้ยประกันภัย 65 ล้านบาท คปภ.คาดว่าถึงสิ้นปีจำนวนกรมธรรม์ประกันภัยพิบัติจะเพิ่มเป็น 720,367 ฉบับ ทุนประกัน 329,943 ล้านบาท

“ตัวเลขนี้มาจากฐานข้อมูลของบริษัท รับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน) หรือไทยรี ประมาณการจากจำนวนกรมธรรม์ทั้งหมดที่มีอยู่ในระบบจะครบอายุเท่า ไหร่จะมีผู้มาทำประกันต่ออีกเท่าไหร่ ไม่คาดว่าจะมาทั้งหมดจำนวนจริงอาจจะต่ำกว่านี้ก็ได้” นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคปภ.กล่าว 

และเสริมว่า กองทุนฯเริ่มเข้าสู่เฟส สองเป็นเรื่องของการทำ ประกันภัยต่อ ต่าง ประเทศอยู่ระหว่างหาบริษัทที่ปรึกษาหรือ บริษัทนายหน้าด้านการประกันภัยต่อ มาให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะแก่กองทุนฯ ในการจัดแผนการประกันภัยต่อที่เหมาะสม พร้อมทั้งติดต่อบริษัทประกันภัยต่อ (รีอินชัวเรอส์) ในต่างประเทศเพื่อเสนอเบี้ย ประกันและเงื่อนไขที่เหมาะสมแก่กองทุนฯ 

ยิ่งกว่านั้นจะเชิญบริษัทรับประกันภัยต่อ อาทิ จากอังกฤษ ญี่ปุ่นมาดูความคืบหน้าแผนการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลและนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อให้ ผู้รับประกันต่อเกิดความมั่นใจจะได้เข้ามา แข่งขันเสนออัตราเบี้ยประกัน เชื่อว่าน่าจะเชิญมาได้เพราะสามารถแสดงผลเป็นรูปธรรมให้กับผู้รับประกันต่อเห็นภาพได้ทั้งประชาชนที่เคยอพยพออกจากกรุงเทพฯ ช่วงน้ำท่วมกลับเข้ามาแล้ว นิคมฯ ต่างๆ เปิดธุรกิจ ขณะที่เขื่อนป้องกัน น้ำเริ่มเป็นรูปเป็นร่าง

“เป็นช่วงที่กรมธรรม์เก่าทยอยหมด อายุ เราคาดว่าจากนี้ไปถึงสิ้นปีจะเห็นการ ทำประกันภัยพิบัติ แต่ยังไม่รู้จะมาทำ ประกันเท่าไหร่ ดังนั้นกองทุนฯต้องพร้อมรับเสมอ การซื้อประกันภัยต่อจะทยอยซื้อ ตามความเหมาะสมเพื่อจะได้ไม่ต้องไปเสีย เบี้ยทีเดียวส่วนจะซื้อเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับคำแนะนำของประกันต่อเช่นทุนประกันแสนล้านอาจจะซื้อประกันต่อหมื่นล้านบาทก่อน ก็ได้ ที่ไม่ทำก่อนหน้านี้เพราะถ้าซื้อไว้แล้วไม่ได้ใช้ความคุ้มครองจะเสียค่าเบี้ยไปเปล่าๆ ค่าเบี้ยประกันแพงที่สุดคือตอนนี้โอกาสต่อรองน่าจะดีกว่า”

สำหรับบริษัทนายหน้าประกันภัยต่อที่กำลังสรรหาอยู่ เลขาธิการคปภ.กล่าว ว่า เป็นบริษัทสากลขนาดใหญ่ซึ่งในโลกมีประมาณ 5 บริษัท คาดว่าประมาณต้นเดือนกันยายนจะได้รายชื่อบริษัทนายหน้า พร้อมกับนำเสนอคณะกรรมการกองทุนฯคัดเลือกและแต่งตั้งเพื่อเสนอแผนการทำประกันต่อ

“ตอนนี้ผู้รับประกันต่อ มั่นใจตลาดไทยมากขึ้นเห็นได้จากค่าเบี้ยที่ลดลงในพื้นที่ที่ไม่มีน้ำท่วม อย่างเงื่อนไขของกองทุนฯที่กำหนดว่าถ้าบริษัทประกันภัย ขายประกันภัยพิบัติโดยให้อัตราเบี้ยต่ำกว่า กองทุนฯตั้งแต่ 20% ขึ้นไปไม่ต้องส่งงานเข้ากองทุนฯอัตราที่ว่ามาจากทางผู้รับประกันต่อเสนอมาสะท้อนว่าผู้รับประกันต่อเข้ามาแล้ว”

“ประเวช” กล่าวว่า ถ้าปีนี้น้ำไม่ท่วม เบี้ยประกันจะลดลงอีก ผู้รับประกันต่อจะ เข้ามามากขึ้นและถ้าปีหน้าไม่ท่วมอีกจะยิ่ง ลดลงอีกแต่คงไม่ต่ำเหมือนช่วงก่อนน้ำท่วมที่คิดกัน 0.01% จ่ายสินไหมน้ำท่วมแล้ว 65% 

สำหรับความคืบหน้าในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนผู้ประสบภัยน้ำท่วม นายตนุภัทร รัตนพูลชัย ผู้ช่วยเลขาธิการสาย กำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัย สำนักงานคปภ. กล่าวว่า ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2555 บริษัทประกันภัยจ่ายค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว 2.94 แสนล้านบาทหรือคิดเป็น 65.17% ของยอดค่าเสียหายที่มีการเรียกร้องเข้ามา 4.5 แสนล้านบาท คิดเป็นจำนวนราย 81,638 ราย หรือ 91.08% ของจำนวนราย ทั้งหมด 89,632 ราย ที่เรียกร้องค่าสินไหม ทดแทนเข้ามาสะท้อนภาพประชาชนและผู้เอาประกันภัยส่วนใหญ่ได้รับการชดใช้แล้วต่ำกว่าเป้าหมาย70% เล็กน้อย

ส่วนที่ยังไม่ได้รับการชดใช้อีก 7,995 ราย ค่าสินไหมทดแทน 1.57 แสนล้านบาทหรือคิดเป็น 34.83% อยู่ระหว่างดำเนินการส่วนใหญ่เป็นลูกค้ารายใหญ่โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ โดยค่าสินไหมส่วนนี้ยังไม่นิ่งเป็นตัวเลขความเสียหายที่บริษัทประกันภัยตั้งสำรองจ่ายไว้ อีกทั้งยังไม่รวม ความจากการประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก (BI) อีก 3.7 หมื่นล้านบาทหากรวมค่าเสียหาย ทั้งหมดจะอยู่ประมาณ 4.8 แสนล้านบาท หรือประมาณ 60 เท่าของค่าสินไหมทดแทน จำนวน 8 พันล้านบาทจากเหตุการณ์สึนามิ เมื่อปลายปี 2547

นายตนุภัทร กล่าวว่า ปัญหาในการ จ่ายค่าสินไหมทดแทน อาทิเครื่องจักรมีจำนวนมาก มีมูลค่าสูงเป็นเครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีสูงต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญพิเศษเฉพาะ, บางเครื่องตกรุ่น ไม่มีการผลิต การสั่งผลิตใหม่ต้องใช้เวลา, ทำประกันต่ำกว่า มูลค่าที่แท้จริง โดยคปภ.เร่งรัดการจ่ายค่า สินไหม เช่น กำหนดให้บริษัทประกันภัยต้องรายงานความเสียหายและการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน ทุกๆ เดือน เดือนละ 2 ครั้ง จัดตั้งทีมงาน เพื่อติดตามเร่งรัดการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เป็นต้น
ที่มา www.spser.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น